โซลาร์เซลล์มีกี่แบบ ถ้าอยากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้าน ควรเลือกแบบไหนดี

การใช้แผงโซลลาเซลล์เป็นแหล่งพลังงานทดแทนกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากมีประโยชน์ทั้งในด้านการอนุรักษ์พลังงาน ลดการใช้งานพลังงานที่มีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยมีช่องว่างระหว่างเซลล์ที่ช่วยให้แสงอาทิตย์เข้าถึงและสร้างกระแสไฟฟ้า และเมื่อใช้งานร่วมกับระบบจ่ายไฟฟ้าเซลล์ แผงโซลลาเซลล์จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้งานไฟฟ้าได้อย่างมาก มีระบบการกักเก็บพลังงานที่แตกต่างกันเราควรเลือกแบบไหนดีถ้าอยากจะติดตั้งแผงโซลลาเซลล์ที่เหมาะกับบ้านมากที่สุด

ระบบโซลาร์เซลล์มีกี่แบบ

ระบบของโซลาเซลล์มีทั้งหมด 3 แบบ คือ ออนกริด(On Grid) , ออฟกริด(Off Gird) , ไฮบริด(Hybrid)

ระบบโซล่าเซลล์แบบออนกริด (On Grid)

เป็นระบบที่เชื่อมกับระบบไฟฟ้ากับทางภาครัฐ ไม่มีแบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟฟ้าส่วนเกิน ในส่วนของราคาถูกกว่าแบบอื่น การบำรุงรักษาง่าย โซลลาเซลล์แบบออนกริดนั้นมีความยืดหยุ่นในการติดตั้งได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบนหลังคาของบ้าน บนที่พักหรือในสวน การติดตั้งนั้นไม่ซับซ้อนและสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้เวลามาก โซลลาเซลล์ออนกริดมีเถียรภาพดีเพราะเชื่อมต่อไฟฟ้าจากทางภาครัฐ แต่ถ้าไฟฟ้าจากทางภาครัฐดับลงไฟฟ้าที่ใช้อยู่ก็จะดับลงด้วย เพราะว่าไม่มีแบตเตอรี่เพื่อสำรองไฟ ระบบโซลลาเซลล์แบบออนกริดจึงเหมาะที่จะใช้ในตอนกลางวันมากกว่า

ระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริด (Off Grid)

เป็นระบบที่ไม่ต้องขออนุญาติจากทางภาครัฐเพราะไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของทางภาครัฐ แบบออฟกริดเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า เช่น บนเขา ในป่า หรือไร่นา  มีราคาสูงกว่าแบบออนกริด ระบบเสถียรภาพต่ำแต่ก็มีประโยชน์เพราะว่านำพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้ในเวลากลางคืนหรือเกิดไฟดับ แต่ต้องคำนวณเรื่องแบตเตอรี่ที่กักเก็บให้เหมาะสมด้วย

ระบบโซล่าเซลล์แบบไฮบริด (Hybrid)

เป็นระบบที่ผสมผสานระหว่างแบบออนกริดกับแบบออฟกริดเข้าด้วยกัน ระบบนี้จะมีการเชื่อมต่อกับทางการไฟฟ้าสำหรับช่วงที่ไม่มีแดด โดยสามารถใช้ไฟฟ้าได้จากทั้งการผลิตของแผงโซล่าเซลล์ สามารถใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สำรองในช่วงเวลากลางคืนหรือเวลาที่ไฟฟ้าดับ และสามารถใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าได้ แต่พลังงานที่เหลือไม่สามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้า ระบบนี้ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร เนื่องจากอุปกรณ์ต่าง ๆ มีราคาสูง ต้องใช้ระยะเวลานาน กว่าจะคืนทุนแต่เสถียรภาพในการใช้ดี

ชนิดของแผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ

แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

แผงโซล่าเซลล์ประเภทนี้จะมีฟิล์มลักษณะบางกว่าชนิดอื่น สีแผงจะเข้มหรือมีสีดำ ข้อดีคือราคาถูกที่สุดใน 3 ชนิดนี้และมีน้ำหนักเบา ทนต่อความร้อนได้ดี แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุดและมีอายุการใช้งานที่สั้น ซึ่งไม่เหมาะนำมาติดตั้งในภาคอุตสาหกรรม

แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline Silicon Solar Cells)

แผงที่ทำมาจากซิลิคอนทรงกระบอกบริสุทธิ์ รูปทรงของเซลล์จะมีสีเข้ม มุมทั้งสี่มุมจะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัด ข้อดีคือ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุด (25 – 40 ปี) และสามารถผลิตไฟได้ดีแม้ในวันที่มีแสงแดดจะน้อย และเมื่อเทียบกำลังวัตต์ที่เท่ากัน แผงโซลาร์เซลล์แบบ Mono Crystalline จะมีขนาดเล็กกว่า เหมาะกับสถานที่ติดตั้งที่มีพื้นที่จำกัดอย่างบนหลังคาบ้าน แต่ก็มีข้อเสียคือราคาที่สูงและหากมีคราบสกปรกบนแผงติดอยู่เป็นระยะเวลานาน จะทำให้ระบบอินเวอร์เตอร์ไหม้ได้

แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Poly Crystalline Silicon Solar Cells)

เป็นแผงที่ทำมาจากผลึกซิลิคอน รูปทรงของเซลล์เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสไม่มีการตัดมุม สีของแผงเข้มออกไปทางสีน้ำเงิน ซึ่งมีข้อดีตรงที่ ราคาไม่แพง และสามารถใช้งานในพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงกว่าแผงคริสตัลไลน์เล็กน้อย แต่มีข้อเสียตรงอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้นเพียง 20 – 25 ปี เท่านั้น

ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้านควรเลือกแบบไหนดี

การติดตั้งแผงโซลลาเซลล์ที่เหมาะกับบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านที่อยู่ในเมือง นอกเมือง หรือบ้านที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น บ้านที่อยู่ในเขาสูง การเลือกติดตั้งแผงโซลาเซลล์ก็แตกต่างกันไปตามสถานที่ที่เราอยู่  ก่อนติดตั้งควรคำนึงถึงงบประมาณในการติดตั้งเพราะแต่ละแบบก็จะมีราคาที่แตกต่างกัน ปริมาณในการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านด้วยเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน เพื่อจะได้รู้ว่าเราควรเลือกติดแผงโซล่าเซลล์ขนาดเท่าไร ซึ่งสามารถตรวจสอบคร่าว ๆ ด้วยการคำนวณจากค่าไฟฟ้าที่คุณใช้ในแต่ละเดือน

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สำหรับใช้ในครัวเรือนอาจดูเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ถือเป็นการประหยัดพลังงานในระยะยาว จำเป็นต้องมีการวางแผนและการเตรียมการ ในการเริ่มต้นอย่างรอบครอบ ควรประเมินสภาพหลังคา ทั้งความแข็งแรงและขนาด ทิศของหลังคา เพื่อให้การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้นสามารถผลิตกระแสไฟได้มากที่สุด ซึ่งลงทุนแค่ครั้งเดียวสามารถใช้งานได้คุ้มค่าไปนานกว่า 20-25 ปี นอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยลดการใช้พลังงานของโลกได้อีกด้วย

Scroll to Top